เป็นปัญหาที่พบได้บ่อยในลูกสุนัขพันธุ์เล็ก ซึ่งส่วนใหญ่จะหายไปเมื่อสุนัขโตขึ้น แต่ก็มีบางตัวที่อาจจะเป็นตลอด อาการของสภาวะนี้ก็คือ เดินเซไปเซมา ตาค้าง ตัวอ่อน หรือชักเกร็ง ถ้าไม่ได้รับการรักษาอย่างทันท่วงทีอาจจะทำให้เกิดอาการชัก หมดสติ และอาจจะตายได้ในที่สุด
วิธีรักษา ให้ร่างกายของเขาได้รับน้ำตาลเพิ่มขึ้น ทำได้โดยการป้อนน้ำหวานหรือพวกสารอาหารบำรุงให้กับลูกสุนัข สักพักลูกสุนัขก็จะมีอาการดีขึ้น โรคนี้สามารถป้องกันได้โดยกำหนดเวลาให้อาหารลูกสุนัขให้สม่ำเสมอเพื่อรักษาระดับน้ำตาลในเลือดให้คงที่ ส่วนใหญ่แล้วก็จะเป็นในลูกสุนัขอายุ 2-3 เดือน
Molera
โดยทั่วไปแล้ว molera ถูกมองว่าเป็นลักษณะประจำสายพันธุ์และไม่ได้ถือว่าเป็นความบกพร่อง Molera คือ จุดอ่อนนุ่มเป็นรูเล็กๆส่วนบนของกะโหลก และจะเล็กลงเมื่ออายุมากขึ้น เวลาที่สัมผัสส่วนนี้เบาๆด้วยความนุ่มนวลก็จะไม่มีอันตราย แต่ถ้าหากถูกกระแทกแรงๆก็อาจจะทำให้เกิดอันตรายถึงชีวิตได้เช่นกัน ในบางตัวที่มีขนาดของ molera ใหญ่มากอาจจะทำให้มีโอกาสเป็น hydrocephalus หรือภาวะสมองบวมน้ำ แต่ก็ไม่แน่เสมอไปเพราะว่ายังมีอาการอีกหลายอย่างที่จะแสดงว่าสุนัขเป็น hydrocephalus ชิวาวา 80-90% มี molera
Hydrocephalus หรือสภาวะสมองบวมน้ำ
สุนัขที่เป็น hydrocephalus จะมีลักษณะหัวที่ใหญ่ผิดปกติเมื่อเทียบกับขนาดตัว กะโหลกขยายใหญ่ รอยต่อของกะโหลกไม่เชื่อมต่อกันและเกิดช่องว่างระหว่างเนื้อสมองและกะโหลก ซึ่งมีสาเหตุมาจากภาวะสมองบวมน้ำ ภาวะสมองบวมน้ำอาจเป็นผลมาจากยีนผิดปกติ หรือเกิดจากการสะสมของ CSF มากกว่าปกติ ซึ่งอาจเกิดตั้งแต่ลูกสุนัขยังอยู่ในท้องหรือหลังจากคลอดไม่นานโดยไม่ทราบสาเหตุ ลูกสุนัขที่มีภาวะสมองบวมน้ำขั้นรุนแรงส่วนมากจะตายภายในระยะเวลาอันสั้นหลังจากคลอดได้ไม่นาน ซึ่งเป็นผลมาจากการเพิ่มขึ้นของความดันในสมอง ในลูกสุนัขที่มีอาการไม่รุนแรงมากนักอาจจะมีอายุได้มากกว่า 2-3 เดือน ในสุนัขที่มีภาวะสมองบวมน้ำจะทำให้การเจริญเติบโตช้ากว่าปกติ อาการอื่นที่พบได้บ่อยๆคือ มีอาการชัก เห็นตาขาวมากกว่าปกติ เดินไม่มั่นคง ตามองไปคนละข้าง ถึงแม้ว่าภาวะสมองบวมน้ำจะทำให้สุนัขส่วนใหญ่ตายตั้งแต่อายุยังน้อย แต่ก็มีบางตัวที่สามารถอยู่ได้มากกว่า 2 ปี สุนัขที่มีภาวะสมองบวมน้ำไม่ควรนำมาใช้เป็นพ่อแม่พันธุ์เพราะอาจถ่ายทอดไปสู่ลูกหลานได้ ในการรักษาโอกาสที่จะประสบความสำเร็จมีน้อยและราคาสูง
reverse sneezing อาการ หอบ หายใจดังครืดๆ หรือ ทำท่าจะอ้อก แต่ไม่มีอะไรออกมา จะเกิดอาการเมื่อ ตื่นเต้น มากหรืออากาศเย็น ก็ทำให้เป็นได้ วิธีแก้ไข ให้นวดที่คอหอย ให้น้องชิวาวากลืนน้ำลาย ก็จะดีขึ้น
Collapsing Trachea หรือโรคหลอดลมตีบ
หลอดลม เป็นอวัยวะสำคัญที่นำอากาศจากคอเข้าไปสู่ปอด หลอดลมประกอบด้วยกระดูกอ่อนรูปตัว C ประมาณ 35-45 ชิ้นมาประกอบเชื่อมกันด้วยกล้ามเนื้อและเส้นเอ็นมาเป็นรูปร่างคล้ายๆหลอดเมื่อกระดูกอ่อนรูปตัว C นั้นเกิดยุบตัวลงมา ส่วนใหญ่การที่หลอดลมฟีบแบนลงมานั้นเกิดจากการหายใจเอาอากาศเข้าอย่างรวดเร็ว เมื่อหลอดลมยุบตัวลง ก็จะทำให้การหายใจนำอากาศเข้าสู่ปอดเป็นได้ได้ด้วยความยากลำบาก
Collapsing Trachea เกิดขึ้นได้อย่างไร จากการศึกษาที่มาของโรคหลอดลมยุบตัวนั้น ทางแพทย์ก็ยังหาสาเหตุไม่ได้ว่าเกิดขึ้นได้อย่างไร แต่เป็นที่ทราบกันว่า สุนัขที่เป็นโรคนี้มีความผิดปกติทางด้านเคมีในการสร้างหลอดลมขึ้นมา เมื่อกระดูกอ่อนรูปตัว C มีความแข็งแรงไม่เพียงพอ หลอดลมจึงไม่สามารถมีรูปร่างที่ถูกต้องได้ โรคหลอดลมยุบตัวเป็นโรคที่มักจะพบในสุนัขหลายๆพันธ์เช่น ชิวาว่า ปอมเมอเรเนี่ยน ชิสุห์ ลาซ่าแอปโซ่ พูเดิ้ล และยอร์คเชียร์ เทอร์เรีย ดังนั้น ด้วยความที่โรคนี้มักเกิดกับสุนัขพันธ์ดังกล่าว จึงมีคนตั้งข้อสงสัยว่า โรคนี้อาจจะเป็นโรคที่ถ่ายทอดทางพันธุกรรมอีกโรคหนึ่ง แต่ก็ว่ายังไม่มีหลักฐานการพิสูจน์ว่าโรคหลอดลมยุบตัวเป็นโรคที่สามารถถ่ายทอดทางพันธุกรรม
Mitral Valve insufficiencyหรือโรค ลิ้นหัวใจรั่ว
เกิดจากความเสื่อมของร่างกายเอง หรือ อาจเกิดการติดเชื้อในร่างกายแล้วทำให้ลิ้นหัวใจเกิดการอักเสบ หรืออาจเกิดการขยายใหญ่ของหัวใจจนลิ้นหัวใจปิดไม่สนิท โดยมากมักพบกับลิ้นหัวใจที่กั้นระหว่างห้องบนและล่างซ้าย (แต่อาจเกิดที่ลิ้นหัวใจอื่นก็ได้)
การรักษาโรค เป็นโรคที่ไม่สามารถรักษาให้หายขาดได้ การรักษาจึงทำเพื่อบรรเทาอาการ และเพิ่มคุณภาพชีวิตเท่านั้น ทำได้โดยการให้ยาขยายหลอดเลือด ยาขับน้ำ หรือ/และ ยากระตุ้นการทำงานของหัวใจ ในปัจจุบันอาจมีเทคนิดในการเปลี่ยนลิ้นหัวใจโดยใช้ลิ้นหัวใจเทียม ซึ่งยังเป็นในการทดลองมากกว่า การปฏิบัติจริงในปัจจุบันยังไม่สามารถทำได้
นอกจากโรคต่างๆที่อาจเิกิดกับชิวาวา เช่นมีอาการไอ หายใจสั้นๆ และหมดแรง
(ขอบคุณที่มา http://vip-chihuahua.com)